เมนู

4. คันถสูตร



คันถะ 4


[339] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คันถะ 4 อย่างนี้ 4
อย่างเป็นไฉน ได้แก่กายคันถะคืออภิชฌา 1 กายคันถะคือกาบาท 1 กาย-
คันถะคือสีลัพพตปรามาส 1 กายคันถะคืออิทังสัจจาภินิเวส 1* ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย คันถะ 4 อย่างนี้.
[340] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกําหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละคันถะ 4 อย่าง
นี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 นี้ ฯลฯ
จบคันถสูตรที่ 4

5. อนุสยสูตร



อนุสัย 7


[341] สาวัตถีนิทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุสัย 7 อย่างนี้ 7
อย่างเป็นไฉน ได้แก่อนุสัยคือกามราคะ อนุสัยคือปฏิฆะ 1 อนุสัยคือ
ทิฏฐิ 1 อนุสัยคือวิจิกิจฉา 1 อนุสัยคือมานะ 1 อนุสัยคือภวราคะ 1 อนุสัย
คือวิชชา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุสัย 7 อย่างนี้แล.
* ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง.

[342] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอนุสัย 7 อย่าง
นี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 นี้ ฯลฯ
จบอนุสยสูตรที่ 5

6. กามคุณสูตร



กามคุณ 5


[343] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 อย่างนี้
5 อย่างเป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้ได้ด้วยตา. อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้ด้วยหู . . . กลิ่นที่พึงรู้ด้วยจมูก. . .
รสที่พึงรู้ด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่พึงรู่ด้วยกาย อันนี้ปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กําหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5
อย่างนี้แล.
[344] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกําหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละกามคุณ 5
อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 นี้ ฯลฯ
จบกามคุณสูตรที่ 6